4 กรกฎาคม 2553

ต้อหินเฉียบพลันชนิดมุมปิด (Acute angle - closure glaucoma)


เป็นต้อหินที่มีการขัดขวางการไหลออกของน้ำในลูกตา (aqueous outfow) อย่างเฉียบพลัน มีความสำคัญมากที่ต้องวินิจฉัยและรักษาอย่างรีบด่วน
สาเหตุ
1. Pupillary block ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีมุมตาแคบอยู่แล้ว และถูกกระตุ้นด้วยยาขยายม่านตา ความมืด ทำให้ม่านตาขยายไปติดแน่นกับแก้วตา (lens)
2. มุมตาปิดจากลักษณะของม่านตาที่ผิดปกติ เช่น plateau iris configulation
3. Neovascular glaucoma หลอดเลือดงอกใหม่เข้ามาในมุมตา ทำให้การไหลออกของน้ำในลูกตาลดลง
4. Mechanical closure of angle เป็นผลจากการเคลื่อนขึ้นหน้าของ lens-iris diaphragm เช่น lens-induced glaucoma, choroidal detachment, choroid swelling หลังจากใช้เลเซอร์จี้จอประสาทตามากในครั้งเดียว เนื้องอก, malignant glaucoma
ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะ pupillary block glaucoma เนื่องจากพบได้บ่อยและผู้ป่วยจะมีอาการตาแดงมาก
ปัจจัยเสี่ยง
• อายุ มักจะมีอายุมากกว่า 60 ปี
• เพศ พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายในอัตรา 4:1
• เชื้อชาติ พบได้บ่อยในชนชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน เอสกิโม มักจะไม่ค่อยพบในคนผิวดำ
• ประวัติครอบครัว อาจจะมีประวัติคนในครอบครัวเป็นต้อหินชนิดนี้ เนื่องจากพันธุกรรมมีผลต่อ ocular anatomical features


อาการและอาการแสดง
• สายตามัวลงอย่างรวดเร็ว ปวดรอบกระบอกตา ปวดบริเวณหน้าผาก คลื่นไส้ อาเจียน เห็นสีรุ้งรอบดวงไฟ
• Ciliary injection เห็นเยื่อตาแดงรอบกระจกตา
• ความดันในลูกตาสูงมากมักอยู่ระหว่าง 50-100 มม.ปรอท
• กระจกตาบวม ไม่พบ keratic precipitates
• ช่องหน้าลูกตาตื้น
• อาจจะพบ cell & flare ในช่องหน้าลูกตา
• รูม่านตาโตประมาณ 5-6 มม. ( fixed mid-dilated pupil )
• ถ้าดูมุมตาโดย gonioscopy จะพบมุมตาแคบ
• ถ้าดูด้วย ophthalmoscopy จะพบ optic nerve บวม แดง แต่โดยทั่วไปช่วงที่อาการยังรุนแรงอยู่ อาจจะตรวจไม่ได้
การรักษา
• ในระยะแรกให้การรักษาทางยาก่อน เพื่อลดความดันในลูกตาลงและให้การผ่าตัดในภายหลัง
รักษาเบื้องต้น• Corneal indentation โดยหยอดยาชาแล้วใช้ไม้พันสำลีหรือ squint hook กดกระจกตาตรง ๆ
• Hyperosmotic agents เช่น รับประทาน 50% glycerol 1-1.5 ก./น้ำหนักตัวกก. ผสมน้ำมะนาว หรือ 20% mannitol 1-2 ก./น้ำหนักตัวกก. ให้ทางหลอดเลือดดำ
• รับประทาน carbonic anhydrase inhibitor เช่น acetazolamide (250มก.) 2 เม็ด ตามด้วย 1 เม็ดทุก 6 ชั่วโมง
• หยอดยาหยอดตา beta-blockers วันละ 2 ครั้ง
• หยอดยาหยอดตาสเตียรอยด์ วันละ 4 ครั้ง
• หยอดยาหุบม่านตา ตาข้างที่เป็นต้อหินจะใช้ 2-4% pilocarpin ส่วนตาอีกข้างควรป้องกันด้วย 1% pilocarpin วันละ 4 ครั้ง ยกเว้น neovascular glaucoma, mechanical closure จะไม่ให้ยาในกลุ่มนี้ ควรจะเริ่มให้ยาหลังให้การรักษาแล้วประมาณครึ่ง ถึง 1 ชั่วโมงเมื่อ iris ischaemia ลดลงและความดันในลูกตาน้อยกว่า 40 มม.ปรอท
การรักษาจำเพาะ
• การใช้เลเซอร์เจาะม่านตาให้เป็นรู หรือ
• ผ่าตัด ตัดม่านตาให้เป็นรู หรือ
• ผ่าตัด Trabeculectomy ในกรณีที่ 2 วิธีแรก