5 พฤษภาคม 2552

โครงร่างการวิจัยโรคแผลกระจกตา


ชื่อเรื่อง “ การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยมีแผลที่กระจกตาอย่างมีประสิทธิภาพ”

หลักการและเหตุผล
ดวงตาเป็นอวัยวะหนึ่งที่มีความสำคัญกับการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพโดยมีหน้าที่หลักในการมองเห็น การเกิดความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับดวงตามีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย อุบัติการณ์การบาดเจ็บทางตาเป็นเรื่องที่พบได้บ่อย ซึ่งเกิดขึ้นจากการทำงาน และมักพบในวัยทำงาน การดูแลที่ถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้ความรู้เข้าใจที่ถูกต้อง วิธีการดูแลที่เหมาะสมในการดูแลผู้ป่วยทางตา จะช่วยลดความรุนแรง ลดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งมีผลช่วยในการรักษาการมองเห็นของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี ความ หากการดูแลไม่ถูกต้อง หรือไม่เห็นความสำคัญของการดูแลรักษา เพราะคิดว่าโรคทางตาไม่สำคัญเพราะไม่ทำให้ถึงตาย (motality ต่ำ) แต่ในความเป็นจริง ความสูญเสียที่เกิดจากการดูแลที่ไม่ถูกต้อง ให้การดูแลรักษาไม่เหมาะสม อาจก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรง (mobidity สูง)และเป็นเรื่องที่มีผลต่อคุณภาพชีวิต และการทำงานของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องการสูญเสียการมองเห็น พยาบาลผู้ดูแลเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการดูแลและการให้ความรู้ ต่อผู้ป่วยและครอบครัว
สถิติการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุทางตาหรือมีแผลที่กระจกตาในหอผู้ป่วยตา โรงพยาบาลสกลนคร ปี 2551 จำนวน 90 ราย ม.ค.- เม.ย. ปี 2552 จำนวน45ราย ดังนั้นการศึกษาเพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยมีแผลที่กระจกตา และเตรียมความพร้อมการดูแลแก่ผู้ป่วยแลครอบครัว ก่อนจำหน่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพดูแลของพยาบาล และการดูแลตนเองของผู้ป่วย เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนและความพิการที่อาจเกิดขึ้นจากการสูญเสียการมองเห็น จึงเป็นประโยชน์ในการหารูปแบบที่เหมาะสมในการดูแลผู้ป่วยที่มีแผลที่กระจกตา และส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยและครอบครัวอย่างเหมาะสม
เป้าหมาย
1. ลดระยะเวลาการรักษาในโรงพยาบาล
2. ลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดกับผู้ป่วย
3. พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ครอบครัว
4. พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมีแผลที่กระจกตาอย่างมีประสิทธิภาพ
ขอบเขตการวิจัยการศึกษาการดูแลผู้ป่วยที่มีแผลที่กระจกตา ซึ่งเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยตา โรงพยาบาลสกลนคร พ.ค. - ก.ค. 2552